top of page
รูปภาพนักเขียนRachada Buranasiri

[บทความแปล] ถอดรหัสความแตกต่างระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์, แนวคิดความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม, และแนวคิดริเริ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



Yvon Poirier

รชาดา บุรณศิริ แปลและเรียบเรียง

 

ขณะที่ขบวนการแนวคิดเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์ (SSE) ได้รับการมองเห็นและมีน้ำหนักทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นจากการรับรองมติ A/RES/77/281 ของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (UNGA) ในเดือนเมษายนปีที่ผ่านมา เรื่อง “การส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” และมีบทบาทสำคัญในการขจัดความยากจนและเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายวาระปี ค.ศ.2030 นั้น ยังมีอีกหนึ่งขบวนการที่มีต้นกำเนิดทางประวัติศาสตร์แตกต่างกันอย่างชัดเจนที่ Yvon ผู้เขียนเรียกว่า "ขบวนการผู้ประกอบการเพื่อสังคม" ได้พยายามอ้างตนว่าเป็นส่วนหนึ่งหรือแม้แต่ "แกนนำหลัก" ของขบวนการ SSE จากการแสดงออกในงานสาธารณะต่างๆ อาทิ World Economic Forum และงานแถลงข่าวของ Catalyst 2030


หากดูเพียงผิวเผิน ทั้งสองขบวนการด้านคำศัพท์และรูปแบบวิธีการเล่าเรื่อง เช่น “การจัดการกับต้นตอปัญหาเชิงระบบ” หรือ “ชุมชน” ประกอบกับที่คำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น “การประกอบการเพื่อสังคม” “วิสาหกิจเพื่อสังคม” และ “เศรษฐกิจเพื่อสังคม” นั้นถูกขบวนการผู้ประกอบการเพื่อสังคมใช้อย่างปะปนกัน รวมถึงในกรณีของประเทศไทยที่เราจะเห็นว่าแนวคิดการทำธุรกิจเพื่อสังคมค่อนข้างได้รับความนิยมในขณะนี้ บทความนี้ของ Yvon อาจช่วยทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่า “เศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์” และ “ความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม” แตกต่างกัน และไม่สามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจากคำเหล่านี้มีความหมายที่แตกต่างออกไปตามแต่ละบุคคล และสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแนวคิด “เศรษฐกิจเพื่อสังคม” ที่มีคนบางส่วนเข้าใจเฉพาะแง่มุมของการมีวัตถุประสงค์การทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อสังคมเท่านั้น ในขณะความเข้าใจของคนบางกลุ่มยังหมายรวมถึง “การเป็นเจ้าของร่วมกัน” ซึ่งครอบคลุมแนวทางแบบสหกรณ์ , ธุรกิจที่ไม่แสวงหาผลกำไร, สมาคมผู้ผลิต ฯลฯ อันมีหลักการพื้นฐานคือการกำกับดูแลตามระบอบประชาธิปไตยขององค์กรและวิสาหกิจแบบ SSE 


ภายในบทความชิ้นนี้ Yvon ได้ช่วยสรุปที่มาและการนิยามความหมายแนวคิดเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์และแนวคิดที่เกี่ยวข้องจากมุมมองของนานาประเทศ รวมถึงประวัติศาสตร์ของขบวนการแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมผ่านการทบทวนถึงตัวผู้ก่อตั้งและผู้เสนอแนวคิดบางส่วนซึ่งมักมีต้นกำเนิดในโลกธุรกิจ อาทิ Ashoka, Skoll Foundation, Schwab Foundation for Social Entrepreneurship (นำเสนอเป็นองค์กร "น้องเล็ก" ของ WEF) พันธมิตรระดับโลกเพื่อการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม และสุดท้ายคือ Catalyst 2030 (ร่วมก่อตั้งโดย Ashoka, Echoing Green, มูลนิธิ Schwab และมูลนิธิ Skoll) ไว้อย่างเข้าใจง่าย นอกจากนี้เขายังได้ทบทวนความคิดริเริ่มหลักบางประการจากองค์กรภาคเอกชน อาทิ แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR), ธุรกิจที่เน้นการมีส่วนร่วม, ธุรกิจเพื่อสังคม, การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในกิจการของรัฐ (Public-Private Partnerships - PPPs) และสินเชื่อขนาดเล็กที่เปิดโอกาสให้คนไม่มีหลักทรัพย์เข้าถึงแหล่งเงิน (อย่าสับสนสองอย่างหลังกับความร่วมมือระหว่างองค์กร SSE กับภาครัฐ และกลุ่มการเงินรายย่อยแบบสมานฉันท์) การลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกและพันธบัตรที่สร้างผลกระทบทางสังคม รวมถึงข้อจำกัดของแนวคิดเหล่านี้ ผ่านการตรวจสอบข้อจำกัดของข้อริเริ่มบางประการที่ส่งเสริมโดย Catalyst 2030 ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากขบวนการ SSE และบางแหล่งข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ

 

ทั้งนี้ บทความนี้ไม่ได้เป็นการวิจารณ์ผู้ประกอบการเพื่อสังคมรายย่อยที่ดำเนินโครงการริเริ่มมากมายที่ช่วยบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และการกีดกันทางสังคม ซึ่งคล้ายกับกิจกรรมบางอย่างที่ดำเนินการโดยขบวนการ SSE แต่อย่างใด ตราบเท่าที่กิจกรรมเหล่านี้อยู่ภายใต้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ประเด็นคำถามหลักที่ Yvon เน้นย้ำมากกว่านั้นอยู่ที่ว่า พวกเขาจะเต็มใจที่จะเจาะลึกถึงต้นตอของปัญหาโครงสร้างจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยม และยอมรับการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเพื่อควบคุมองค์กรขนาดยักษ์และทำให้โครงสร้างองค์กรธุรกิจมีความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่


 

[ดาวน์โหลดบทความฉบับเต็มได้ที่นี่]






ดู 157 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page